วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อันตรายที่เกิดจากการบริโภคแมลง




จากการปรุงอาหารแมลงในแต่ล่ะประเภท จะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ใหญ่ๆด้วยกันนั้นก็คือ การบริโภคแบบสุก และการบริโภค แบบสด รูปแบบการบริโภคทั้ง 2 ประเภทนี้มีความเสี่ยง อยู่บ้างกับอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับสุขภาพ

การบริโภคสุก

รูปแบบของการบริโภคในลักษณะนี้ ตัวแมลงจะผ่านความร้อน ซึ่งได้จากกระบวนการปรุง ทำให้อัตราเสี่ยงที่เกิดจากสารพิษ หรือเชื้อโรคลดน้อยลงได้ จากผลสำรวจจะพบว่ามีเฉพาะ ในแมลงกีนูนเขียวเท่านั้น ที่พบพยาธิพวก Ascaropidae แต่พบในปริมาณที่น้อยมาก

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การบริโภคแมลง

การบริโภคแมลงพบในหลายประเทศทั่วโลก เช่น ประเทศเม็กซิโก ไนจีเรีย อินเดีย ญี่ปุ่น พม่า ลาว เป็นต้น
ในประเทศไทยมีการบริโภคแมลงกันมากในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในอดีตนั้นการบริโภคแมลงนั้นจะมีเฉพาะ
ในกลุ่มคนที่มีฐานะยากจนใน เขตภมิมิภาคเท่านั้นเอง แต่ในปัจจุบันนั้นการบริโภคแมลง ได้รับความนิยมและแพร่หลายออกไปทั้งในกรุงเทพ และรวมถึงต่างจังหวัด ซึ่งเราจะสังเกตุได้จากร้านค้าแมลงปรุงรสตามท้องตลายและริมทางเท้าโดยทั่วไป เช่น ตั๊กแตนทอด จิ้งหรีดทอด เป้นต้น แม้นว่าจะอย่างไรก็ตามเรามักจะพบการจำหน่ายแมลงกินได้เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วมีการบริโภคแมลงอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 100 ชนิด ภูมิปัญญาในการเลือกชนิดของแมลงที่สามารถบริโภคได้นั้นวงจรชีวิต ถิ่นที่อยู่อาศัย ฤดูกาลที่พบแมลลง วิธีดักจับ และวิธีการบริโภคแมลงเหล่านี้ ดังรูปที่นำเสนอ


วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

คุณค่าทางโภชนาการ

ถึงแม้ว่าแมลงนั้นจะจัดอยู่ในอาหารประเภทเนื้อแต่นั้นจะแตกต่างจากเนื้อประเภทอื่นๆคือ
การบริโภคแมลงจะได้สารอาหารครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน แร่ธาตุ ส่วนเนื้อนั้นประเภทอื่นๆจะประกอบไปด้วยโปรตีนซะเป็นส่วนใหญ่ และจะมีสารอารหารอื่นๆน้อยมากๆ ดปรตีนต่อน้ำหนักสดของแมลงบางชนิดนั้นจะมีค่าใกล้เคียงกับโปรตีนจากเนื้อสัตว์โดยทั่วไป เช่น เนื้อหมู และ เนื้อปลา เป็นต้น นอกจากนี้แมลงนั้นยังมีกรดไขมันจำเป็นโดยเฉพาะโอเมก้า-3 และก็โอเมก้า-6
ซึ่งจะทำหน้าที่สำคัญหลายอย่างต่อร่างกายคนเรา ยกตัวอย่างเช่น ลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ ช่วยกำจัดคราบไขมันในผนังหลอดเลือด ลดความดันเลือด ช่วยในการซ่อมแซม และก็ช่วยสร้างเยื้อหุ้มเซลล์ นอกจากโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 (เช่น กรดลิโนเลนิก และกรดลิโนเลอิก) ยังสามารถนำไปสร้าง DHA (Docosahexaenoic acid) ที่เป็นกรดไขมันสำคัญต่อพัฒนาการของสมองคนเรา แมลงกินได้นั้นบางชนิดนั้น เช่น ตั๊กแตน จะมีปริมาณ โอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 เท่ากับ 1,855 และ 569 มิลิกรัม ต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด แมลงดานา มีปริมาณโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 เท่ากับ 736 และ 1,808 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด ซึ่งจะมีปริมาณที่ใกล้เคียงกับสัตว์บกและ สัตว์ปีก ทั่วไปที่จะมีโอเมก้า-3 ประมาณ 9-354 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมของน้ำหนักสด แมลงกินได้จึงจัดเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนและก้กรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายของคนเราที่หลายคนนั้นทราบดีอยู่แล้ว

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิธีการบริโภค และข้อควรระวังในการ บริโภคแมลง

เพราะทางภาคอีสานของไทย โดยทั่วๆไปแล้วนั้น จะนำแมลงในส่วนที่รับประทานได้
ซึ่งแตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิด มาเป็นส่วนประกอบในการประกอบอาหาร ต่างงๆ หลายๆ ประเภท
ไม่ว่าจะเป็น การทอด การผัด แกง นึ่ง จี่ หรือแม้กระทั้งการหมก มีอีกหลากหลายวีธี
ประชากร ชาวบ้านทางภาคอีสานของประเทศไทย นอกจากจะรับประทานเป็นอาหารหลักแล้ว
ยังนิยม รับประทานเป็นของคบเขี้ยว ด้วยเช่นกัน แม้จะอย่างไรก็ตาม ในการรับประทาน หรือ บริโภค แมลง
ก็มีข้อควรระวังด้วยเช่นกัน ที่สำคัญที่สุดเลยก็คือ ควรที่จะรับประทานแมลงที่ผ่านการ ปรุงสุกแล้วเท่านั้น
เนื่องจากว่ามีแมลงบางชนิดเป็น พาหะของพยาธิ ไม่ว่าจะเป็น ตั๊กแตน ตัวอ่อนแมลงปอ และก็ แมลงปีกแข็งชนิดต่างๆ เพราะฉนัั้น ผู้บริโภคควรระวังด้วย ด้วยความปราทหนาดีจาก insect-isan.blogspot.com

การจำหน่ายแมลงกินได้

ในอดีตนั้นมีแมลงที่กินได้นั้นมีขายตามท้องตลาด นั้นจะมาจากการดับจับจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการดับจับด้วยด้วยแสงไฟ หรือจะจับด้วยโดยตรงจากแหล่งที่อยู่ แต่ว่าความต้องการของผู้บริโภคที่สูงขึ้นทำให้เกิดการนำเข้าแมลงจากประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ประเทศลาว หรือประเทศพม่า นอกจากนี้แมลงกินได้หลายชนิดนั้นสามารถที่จะเพาะเลี้ยงได้ ยกตัวอย่างเช่น จิ้งหรีด แมลงดา ดักแด้ไหม มดแดง แบบนี้เป็นต้น จึงเกิดการนำมาเป็นอาชีพใหม่ในการเพาะแมลงเพื่อการค้าขาย ซึ่งมีราคาที่ดี แมลงที่นิยมนำมาเพื่อบริโภคแต่เลี้ยง ไม่ได้ก็จะมีราคาที่สูงขึ้นไปอีกเนื่องจากจะต้องไปเก็บ จากแหล่งที่อยู่อาศัย ของแมลงเหล่านั้น ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่าแมลง กินได้นอกจากจะเป็นอาหารรสเลิศแล้ว และยังมีคุณค่าทางโภชนาการและหาได้ในท้องถิ่นโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแล้วยัง เป็นแหล่งที่สามารถสร้างรายได้ของคนในท้องถิ่นได้อีกเช่นกัน ทั้งนี้นั้นแมลงกินได้จะคงยังมีอยู่คู่กับชาวอีสาน ต่อไปหากมีการรักษาความอุดมสมบูรณ์ ของธรรมชาติ ป่าชุมชนการดูแลระบบนิเวศ การสืบทอดภูมิปัญญาสู่เยาวชนของภาคอีสานต่อไป.........

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แมลงกินได้ - อาหารอีสานในยุคพอเพียง



การบริโภคแมลงนั้นเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ สมัยบรรพบุรุษของชาวอีสาน เดิมนั้นในการบริโภคแมลงจะจำกัดไว้ในเฉพาะภูมิภาคเท่านั้น แต่ปัจจุบันแมลงปรุงรสหลายชนิดพบเห็นทั่วไปตามตลาดและร้านค้าริมทางเท้าในทุกๆ ภูมิภาค จนรวมไปถึงมีการขนส่งส่งออจำหน่ายในต่างประเทศอีกด้วย นอกจากแมลงกินได้จะมีรสชาติที่ดีแล้วยังมีปริมาณโปรตีนที่ สูงมากอีกด้วย และก็ยังมีกรดไขมันจำเป็นต่อร่างกายอีกด้วย เช่น โอเมกา 3 และโอเมกา 6 แมลงกินได้จึงเป็นอาหารที่มากด้วยคุณค่าทางโภชนาการ และที่สำคัญคือหาได้ง่ายในท้องถิ่นซึ่ง มีอยู่ทุก ฤดูกาล และก็ยังสามารถสร้างรายได้จากการเพาะเลี้ยง หรือการจับจากแหล่งธรรมชาติอีกด้วย ดังนั้นหากเปรียบเทียบกับอาหารประเภทเนื้อสัตว์อื่นๆแล้ว แมลงที่กินได้ จะนับว่าเป็นอาหารชั้นเยี่ยมของคนอีสานที่เหมาะกับภาวะของเศรษฐกิจที่ตกต่ำอีกด้วย